วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

INTERNET ความเร็วสูง (ADSL) คืออะไร

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยใช้คู่สาย ของโทรศัพท์พื้นฐานของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เทคโนโลยี ADSL ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง เหมาะกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยให้บริการความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) ที่ 2 Mbps และการส่งข้อมูล (Upstream) ที่ 512 Kbps และระหว่างใช้ Internet สามารถ ใช้โทรศัพท์ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเร็วกว่าการใช้งาน Analog Modem หลายเท่า


ที่มา : บริษัท ที โอ ที จำกัด (มหาชน) www. tot.or.th

การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเดิมๆ (Dial Up)การใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป เราต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการใช้งาน เราจะต้องทำการต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยการ กด Dial ต่อจากนั้น ก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับโมเด็มด้วย ซึ่งโมเด็มความเร็วสูงสุดที่ใช้ก็เพียง 56 Kbps แต่ถ้าใช้งานเพียงเรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือBroad Band Internet)บรอดแบรนด์ คือเทคโนโลยีการับ-ส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น โดบใช้เทคนิคWide Band ซึ่งเมื่อมี Bandwidth มาก ก็จะสามารถส่งข้อมูลผ่านออกไปในปริมาณที่มากขึ้นในอดีตนั้น การรับ-ส่งข้อมูล ใชะระบบ Base Band ที่มีช่องความถี่แคบๆเพียง 4 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจกัดในการรับ-ส่งข้อมูลของโมเด็มธรรมดาเพียง 56 kbps เท่านั้นสำหรับ Broad Band ในปัจจุบัน ใช้ความถี่ได้กว้างมาก ในช่วง25.875 ถึง 1,099.6875 กิโลเฮิรตซ์

ระบบ ADSL (Asymmetric Digital Service Line)ADSL เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง การรับข้อมูล (Downstream) จะมีความเร็วได้สูงถึง 8 เมกะบิตต่อวินาที (8 Mbps) และการส่งข้อมูล (Upstream) มีความเร็วสูงสุดที่ 1 Mbps แต่การให้บริการในปัจจุบัน อาจจะมีความเร็วด้านการส่งข้อมูลได้สูงสุด 512 kbpsADSL ดีอย่างไร1. มีความเร็วสูงกว่าระบบเดิมที่ใช้โมเด็มมาก ทำให้ดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่มีรูปภาพมากๆ หรือมีภาพVideo Clip ทำให้โหลดได้เร็วและภาพไม่กระตุก2. สามารถติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์และสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Always On)3. บริการ ADSL สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงกว่าด้านการส่งข้อมูล เพราะได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับ


ที่มา http://www.somkiet.com/ComTech/ADSL.htm

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง


INTERNET ความเร็วสูง (ADSL)



INTERNET ความเร็วสูง (ADSL) คืออะไร

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยใช้คู่สาย ของโทรศัพท์พื้นฐานของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เทคโนโลยี ADSL ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง เหมาะกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยให้บริการความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) ที่ 2 Mbps และการส่งข้อมูล (Upstream) ที่ 512 Kbps และระหว่างใช้ Internet สามารถ ใช้โทรศัพท์ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเร็วกว่าการใช้งาน Analog Modem หลายเท่า

แนะนำการเลือกใช้ Modem กับรูปแบบการใช้งาน
ปัจจุบัน ADSL Modem มี 3 ประเภท คือ USB, Ethernet Router และ Wireless Ethernet Router มีข้อแตกต่างดังนี้
คุณสมบัติ
USB
Ethernet Router
Wireless Ethernet Router
การติดตั้งอุปกรณ์
ใช้กับ USB Port ซึ่งเป็น Port ที่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีอยู่
ใช้กับ Ethernet Port หรือ LAN Card ( RJ-45) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต้องมั่นใจว่ามี Ethernet Port ติดตั้งอยู่ด้วย
ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่รองรับ Wireless LAN ตามมาตรฐาน
IEEE 802.11b
IEEE 802.11g
การติดตั้ง Software
จะต้องใช้ Driver เฉพาะรุ่นของ Modem ติดตั้ง เพื่อกำหนดค่าต่างๆ ของ Modem และเครือข่าย
ไม่ต้องมี Driver แต่ต้องกำหนดค่าติดตั้งผ่าน Web browser เท่านั้น
ไม่ต้องมี Driver แต่ต้องกำหนดค่าติดตั้งผ่าน Web browser เท่านั้น
การใช้แหล่งจ่ายไฟ
ไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟ (DC Adapter) แยกจากเครื่อง เนื่องจากสามารถร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ใช้แหล่งจ่ายไฟ (DC Adapter) แยกจากตัวเครื่อง
ใช้แหล่งจ่ายไฟ (DC Adapter) แยกจากตัวเครื่อง
ประสิทธิภาพในการใช้งาน และการจัดการทรัพยากร
CPU และ Memory จะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมาก สำหรับการสื่อสารข้อมูลผ่าน USB Port อาจส่งผลถึงเสถียรภาพของเครือข่าย
ประหยัดทรัพยากรในการสื่อสารข้อมูล เนื่องจากผ่าน Ethernet Port โดยตรง ทำให้มีเสถียรภาพในการสื่อสารข้อมูลดีกว่า USB Modem
บางรุ่นมีการติดตั้ง Firewall ด้วย
ประหยัดทรัพยากร ในการสื่อสารข้อมูลเนื่องจากผ่านอุปกรณ์ Wireless โดยตรง

คุณสมบัติ
USB
Ethernet Router
Wireless Ethernet Router
การใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ
ใช้งานได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
ใช้ร่วมกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง โดยผ่าน Hub และสามารถติดตั้งอุปกรณ์อื่นได้อีก เช่น Firewall หรือ IP Share เป็นต้น
ใช้งานพร้อมกันได้หลายเครื่อง ที่ติดตั้ง Wireless LAN Card ตามมาตรฐาน
IEEE 802.11b
IEEE 802.11g
ราคา
ราคาถูก
ราคาปานกลาง
ราคาสูง
ข้อมูลที่ควรทราบในการใช้งาน ADSL
( 1. ) กรณี Set ค่าของ Modem Adsl
*** ค่า vpi =1 และค่า vci = 32
*** ค่า Encapsulation = PPPoE LLC
( 2. ) กรณี Set ค่า SMTP ในการส่ง Email จาก OutLook Express และ ค่า DNS ที่ใช้ในบริการ
ADSL ของ TOT
พื้นที่
Package
DNS
SMTP
ภูมิภาค
supercyber
203.155.33.2
202.44.144.34
totadsl.th.com
silvercyber
goldcyber
202.47.249.4
202.129.27.135
smtp5.totonline.net
totgoldbiz
203.150.213.1
203.150.218.161
203.151.141.222
totplatinumbiz
totdiamondbiz
totpremiumbiz
( 3. ) User Name & Password ที่ใช้ในบริการ ADSL ของ TOT
*** สำหรับ Speed 256/128 kbps



User name คือ หมายเลขโทรศัพท์ 9 หลัก@supercyber
*** สำหรับ Speed 512/256 kbps
User name คือ หมายเลขโทรศัพท์ 9 หลัก@silvercyber
*** สำหรับ Speed 1024/256 kbps
User name คือ หมายเลขโทรศัพท์ 9 หลัก@goldcyber
*** Password
คือ หมายเลขโทรศัพท์ 9 หลัก
ตัวอย่าง
เช่น 02-345-6789 ขอ speed 256/128 kbps
จะได้ User Name คือ 023456789@supercyber
Password คือ 023456789


ที่มา : บริษัท ที โอ ที จำกัด (มหาชน) www. tot.or.th















การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเดิมๆ (Dial Up)การใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป เราต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการใช้งาน เราจะต้องทำการต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยการ กด Dial ต่อจากนั้น ก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับโมเด็มด้วย ซึ่งโมเด็มความเร็วสูงสุดที่ใช้ก็เพียง 56 Kbps แต่ถ้าใช้งานเพียงเรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต(Downstream หรือ Download) ความเร็วดังกล่าว ก็นับว่าดีเพียงพอ แต่ถ้าจะดูภาพแบบ Video หรือ Movie Clip ก็ควรจะต้องมีความเร็วสูงขึ้น และในกรณีที่ต้องการใช้แบบ Upstreamหรือ Upload ก็ควรจะใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือBroad Band Internet)บรอดแบรนด์ คือเทคโนโลยีการับ-ส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น โดบใช้เทคนิคWide Band ซึ่งเมื่อมี Bandwidth มาก ก็จะสามารถส่งข้อมูลผ่านออกไปในปริมาณที่มากขึ้นในอดีตนั้น การรับ-ส่งข้อมูล ใชะระบบ Base Band ที่มีช่องความถี่แคบๆเพียง 4 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจกัดในการรับ-ส่งข้อมูลของโมเด็มธรรมดาเพียง 56 kbps เท่านั้นสำหรับ Broad Band ในปัจจุบัน ใช้ความถี่ได้กว้างมาก ในช่วง25.875 ถึง 1,099.6875 กิโลเฮิรตซ์ระบบ ADSL (Asymmetric Digital Service Line)ADSL เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง การรับข้อมูล (Downstream) จะมีความเร็วได้สูงถึง 8 เมกะบิตต่อวินาที (8 Mbps) และการส่งข้อมูล (Upstream) มีความเร็วสูงสุดที่ 1 Mbps แต่การให้บริการในปัจจุบัน อาจจะมีความเร็วด้านการส่งข้อมูลได้สูงสุด 512 kbpsADSL ดีอย่างไร1. มีความเร็วสูงกว่าระบบเดิมที่ใช้โมเด็มมาก ทำให้ดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่มีรูปภาพมากๆ หรือมีภาพVideo Clip ทำให้โหลดได้เร็วและภาพไม่กระตุก2. สามารถติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์และสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Always On)3. บริการ ADSL สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงกว่าด้านการส่งข้อมูล เพราะได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานส่วนใหญ่ที่ผู้ใช้มักจะเรียกดูข้อมูล ภาพ และเสียง ส่วนการส่งข้อมูล เช่น การส่งอีเมล์ การ Update ข้อมูล Edit ข้อมูลในเว็บไซต์นั้น จะมีความเร็วต่ำกว่า และอาจจะสูงสุดที่ 512 kbps แต่ก็นับว่ามากพอ4. เมื่อติดตั้งระบบ ADSL แล้ว จะสามารถใช้งานโทรศัพท์หรือโทรสารได้ตามปกติ พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต บนคู่สาย หรือที่หมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน


5. ผู้ใช้งานระบบ ADSL จะต้องเสียค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย เช่นในปัจจุบัน ที่ความเร็ว 256 kbps ค่าบริการรายเดือนของTrue เดือนละ 590 บาท








ระบบ ADSL2+ADSL2+ เป็นระบบที่พัฒนาต่อมาจาก ADSL เมื่อปี ค.ศ. 2003ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบเก่าได้ โดยระบบ ADSL2+ จะมีความเร็วสูงถึง 24 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่า ADSL ถึง 3 เท่าในระยะทาง 1 กิโลเมตร สำหรับการใช้งานแบบ Downstreamหรือ Download และถ้าระยะทางเพิ่มมากขึ้น ความเร็วก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ จนใกล้กับระบบ ADSL สำหรับการใช้งาน ADSL2+แบบ Upstream หรือ Upload นั้น ความเร็วสูงสุดได้ 1 เมกะบิตต่อวินาที เท่ากับระบบ ADSLความเร็วของอินเทอร์เน็ตกับระยะทางจากชุมสายเนื่องจากคลื่นความถี่สูงๆจะเดินทางได้ไม่ไกลมาก คือมีอัตราการลดทอนดังนั้นทำให้จำนวนช่องสัญญาณของระบบ ADSL ที่มีอยู่ถึง 255 ช่องไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมดเมื่อมีระยะทางไกลขึ้น โดยเฉพาะช่องที่มีความถี่สูงๆ จึงทำให้ ADSL มีความเร็วทางด้านการใช้งานแบบDownstream / Download ลดลง เมื่อผู้ใช้อยู่ห่างจากชุมสายมากขึ้น การทดสอบความเร็ว(Speed Test)ท่านสามารถทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้โดยเข้าไปที่www.adslthailand.com แล้วคลิกที่ Speed Testจากนั้น ก็จะทราบ Bandwidth ตามตัวอย่าง ดังนี้

http://www.somkiet.com/ComTech/ADSL.htm








บทความโดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ, ไพโรจน์ ไววานิชกิจบริการอินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน
การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 2540 เปลี่ยนรูปกิจการเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และได้รับสิทธิ์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์อีกเป็นครั้งที่สองและเมื่อ พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนกระทั่งได้มีองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นและบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่ของ กทช. ที่ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติให้ กทช. ต้องดำเนินการเปิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ณ สิ้นปี 2549 ถึง 59 ราย ภายในเวลาสองปีตั้งแต่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่มา เนื่องจาก กทช. ได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดมากขึ้นและผู้ประกอบการเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกมาก ทำให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ทุกรายในประเทศสามารถพัฒนาคุณภาพบริการของตนให้สูงที่สุดได้และมีราคาถูกที่สุดได้ อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนเป็นหลักการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบันBusiness Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมงการใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลกยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีกต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่อกลางอื่นๆนอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีของประชาชนในประเทศที่มีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและเป็นการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมโดยรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยอีกประการเทคโนโลยีไร้สายกำลังมาแรง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่สร้างความรุ่งเรืองในวงการโทรคมนาคมสลับกับเทคโนโลยีผ่านสายอันเป็นวฎจักรเสมอมา การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไร้สายในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย โดยเริ่มเกิดความนิยมจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไร้สายซึ่งมีความสะดวกสบายจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วนอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรกนอกจากนี้ในอนาคนอันใกล้เราอาจได้ยินคำว่า WISP หรือ Wireless ISP นั่นเองซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือเราอาจเคยได้ยินในชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างนั่นเอง หลายท่านคงนึกภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ออก WiMAX ก็แค่เพิ่มพื้นที่การครอบคลุมให้กว้างขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็น สิบๆ กิโลเมตรเลยทีเดียวสภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต (Market Structure)ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน สภาพตลาดบริการโดยรวมมีจำนวนผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ อินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่ามีระดับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้บริการจำนวนมากใกล้เคียงลักษณะตลาดแบบ Perfect Competition ในอุดมคติและจำนวนผู้ใช้บริการก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ค่าบริการ อินเทอร์เน็ตในตลาดบริการ อินเทอร์เน็ต ทั้งสองตลาดมีอัตราค่าบริการที่ต่างกันตามคุณภาพบริการหรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล กล่าวคือ ตลาดอินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำ (Narrow Band) จะมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าตลาด อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง (Broad Band) โดยแนวโน้มของอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด (สอดคล้องกับหลัการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม) ปัจจุบันอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำราคาค่าบริการต่ำสุด 4 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่อัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงอัตราค่าบริการต่ำสุดที่ 290 บาทต่อเดือนแนวโน้มธุรกิจ IT ในปี 2550ในรายงานศูนย์วิจัยกสิกรไทยฉบับ “52 ธุรกิจปีกุน: ต้องเร่งปรับตัว...รับเศรษฐกิจพอเพียง” ปีที่ 13 ฉบับที่ 1946 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ประมาณว่า ตลาดไอทีไทยจะยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15 มีมูลค่าตลาดประมาณ 162,717 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้- การขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.0-5.0 ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยบวกหลายประการ อาทิ ความสามารถในการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้า อัตราเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศก็น่าจะมีเสถียรภาพมากกว่าในปี 2549 ที่ผ่านมารวมทั้งมีความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้น่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายซื้อสินค้ามากกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น- การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในด้านไอที มูลค่าตลาดไอทีนั้นหากเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นจัดว่ามีสัดส่วนค่อนข้างน้อยหรือประมาณร้อยละ 1.97 ของ GDP ในปี 2549 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.22 ในปี 2550 โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่ายทางด้านไอทีสูงได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและโฮมออฟฟิส (SOHO) กลุ่มการศึกษา ส่วนกลุ่มราชการนั้นน่าจะมีโครงการจัดซื้อเพิ่มขึ้นหลังจากที่ในปี 2549 ได้ชะลอการจัดซื้อลง- การเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี ทั้งนี้เพราะฐานจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ โดยในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นน่าจะมีการเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1.4-1.5 ล้านเครื่อง- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสร้างจุดขายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น แต่ราคาเทคโนโลยีกลับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในปี 2550 จะมีเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจากปี 2549 โดยเฉพาะโพรเซสเซอร์คอร์ทูดูอัล (Core to Dual) ที่จะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรองรับการทำงานในลักษณะมัลติมีเดียและรองรับระบบปฎิบัติการวินโดว์วิสต้า ที่จะเปิดตลาดอย่างเป็นทางการในปี 2550Thailand, English and Internetจากเอกสาร BITS AND BAHTS: THAILAND INTERNET CASE STUDY ของ ITU (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION UNION), March 2002, ใน BOX ที่ 1.3 หัวข้อ Thailand, English and Internet นั้นเป็นบทวิเคราะห์วิจัยให้เห็นภาพรวมของการใช้ประโยชน์จาก อินเทอร์เน็ต ของคนไทยกับปัญหาด้านภาษาอังกฤษ
Thai Internet User’s English Barrierสะท้อนให้เห็นภาพรวมว่า ภาษาอังกฤษไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนไทยผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต เลย กลับเป็นเรื่องเล็กที่สุดด้วยซ้ำไป ส่วนใหญ่คนไทยผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต จะมีความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับที่ดี ในภาพรวมนั้น ภาษาอังกฤษ เป็นปัญหาที่คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตประสบน้อยที่สุดเพียง 23% เท่านั้นเอง แต่ปัญหาที่ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต ประสบสูงที่สุดคือ ความเร็ว นั่นเองเป็นปัญหาใหญ่ถึง 40%
จากเอกสาร BITS AND BAHTS: THAILAND INTERNET CASE STUDY ของ ITU เมื่อ มีนาคม 2002 ยังได้สำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้า ออนไลน์ ของคนไทยพบว่าแทบไม่มีความต้องการซื้อสินค้าผ่าน อินเทอร์เน็ต โดยเหตุผลสูงสุดที่คนไทยไม่ต้องการซื้อสินค้า ออนไลน์ นั้น เนื่องจากว่า ไม่สามารถสัมผัสหรือเห็นสินค้าชัดๆ ได้ถึง 40% รองลงมาคือไม่อยากกรอกหมายเลข บัตรเครดิต ลงในอินเทอร์เน็ต 34% ไม่เชื่อใจผู้ค้า 33% ไม่สนใจ 26% ไม่มีบัตรเครดิต 25% รู้สึกยุ่งยากซับซ้อน 23% และเหตุผลน้อยที่สุดคือไม่อยากเสียเวลารอสินค้ามาส่ง 14% แต่ในปัจจุบันมีการซื้อขาย ออนไลน์ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
นอกจากนั้นผลการสำรวจของ ITU ในเอกสารดังกล่าวยังระบุว่า พฤติกรรมการอ่านบทความอินเทอร์เน็ต (E-readiness) ของคนไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 46 จากการสำรวจใน 60 ประเทศกทช. มีมติเปิดเสรี อินเทอร์เน็ตเกตเวย์กทช. มีหน้าที่เปิดเสรีในทุกบริการโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งนอกจากเปิดเสรีให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรมในการให้บริการ อินเทอร์เน็ต ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังรวมถึงเปิดเสรีให้มีผู้ให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายไปยังต่างประเทศด้วย ที่เรียกกันว่า International Internet Gateway (IIG)ในการประชุม กทช. เมื่อวันที่ 24 พค. 50 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการแข่งขันเสรีบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศ กทช.ทั้งนี้การเปิดเสรีบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โดยการสร้างวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศโดยตรงนั้น เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศโดยรวมคือ1. ก่อให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม มีการลงทุนและพัฒนาโครงข่ายที่เพียงพอต่อความต้องการบริการ กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโดยรวมของประเทศไทย ลดต้นทุนการผลิตจากค่าบริการที่ลดลง2. การแข่งขันเสรีภายในกรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ยังลดทอนการผูกขาดและกระจายความเสี่ยงของการมีช่องทางเชื่อมต่อที่ล้าสมัย3. การที่มีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ ISP ในประเทศได้ใช้บริการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจำนวนแบนด์วิดท์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง4. ส่งเสริมเสถียรภาพโดยรวมของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงจากการมีวงจรสำรองเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Redundancy) เพิ่มมากขึ้นการเปิดเสรี International Internet Gateway ครั้งนี้นั้นสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้มีผู้ให้บริการ IIG เพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศโดยรวมมีการพัฒนาประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ทั้งยังตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในประเทศที่ต้องการบริโภคข้อมูลที่มีปริมาณสูงขึ้นการเพิ่มช่องทางการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไปต่างประเทศจะลดการคับคั่งช่องทางการจราจรและยังเป็นวงจรสำรองของประเทศเมื่อเกิดเหตุวงจรเชื่อมต่อเดิมประสบปัญหาจะเห็นได้ว่าการเปิดเสรีในการแข่งขันให้บริการ อินเทอร์เน็ต ของประเทศไทยโดย กทช. นั้น ส่งผลกระทบรวมในด้านบวกต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/